Articles

cover

Office syndrome รักษายังไงให้หาย

02 August 2021

Office syndrome รักษายังไงให้หาย

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออะไร

Office syndrome คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) อาการปวด ชาจากปลายประสาทที่ถูกกดทับ จากการใช้งานของกล้ามเนื้อมัดเดิมๆซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน พบบ่อยในกลุ่มคนวัยทำงานที่มีลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน จนทำให้เกิดอาการปวดสะสมและกลายเป็นปวดเรื้อรังในที่สุด



สาเหตุของ Office syndrome

  • เกิดจากลักษณะท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม (Posture) เช่น ลักษณะท่านั่งทำงาน การวางมือ ศอก บนโต๊ะทำงานที่ไม่ถูกต้อง
  • สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ลักษณะโต๊ะทำงาน หน้าจอคอมพิวเตอร์ แสงสว่างในห้องทำงาน

 

อาการของ Office syndrome

  • ปวดกล้ามเนื้อบริเวณส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น คอ, บ่า, ไหล่ สะบัก และ หลัง ส่วนใหญ่มักพบอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง หรือบางครั้งไม่สามารถบอกตำแหน่งได้ชัดเจน บางรายอาจพบอาการปวดร้าวไปยังตำแหน่งต่างๆของร่างกายได้ อาการปวดอาจมักจะทำให้เกิดความรำคาญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือในขณะปฏิบัติงาน
  • บางครั้งอาจส่งผลทำให้เกิดอาการของระบบประสาทอัตโนมัติร่วมด้วย เช่น วูบ เหงื่อออก ตาพร่า หูอื้อ มึนงง ชาได้

  • าการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป

วิธีรักษา Office syndrome

ปัจจุบันการรักษาอาการปวดจากออฟฟิศซินโดรมมีหลายวิธี ตั้งแต่การปรับ posture ของตัวเอง หากอาการไม่รุนแรงสามารถรักษาได้เองที่บ้าน เช่น การยืดกล้ามเนื้อและออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อแข็งแรง หรือหากมีอาการรุนแรง ก็สามารถรับการตรวจรักษากับแพทย์และทำกายภาพบำบัดหรือเวชศาสตร์ฟื้นฟูอื่นร่วมได้ โดยสามารถรักษาด้วยการรับประทานยาและใช้เครื่องมือ เช่น การฝังเข็ม นวดแผนไทย ใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น เลเซอร์, ultrasound, electro-magnetic และ shock wave เป็นต้น


การป้องกันการเกิด Office syndrome

  • ปรับเปลี่ยนท่าทางให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม เช่น ไม่นั่งหลังค่อมหรือไหล่ห่อ โดยการออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงและยืดกล้ามเนื้อก็เป็นหนึ่งวิธีที่ช่วยให้เราอยู่ในอยู่ในท่าทางที่เหมาะสมได้
  • ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ปรับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ที่ทำงาน ปรับระดับหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไม่เพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ
  • ปรับเปลี่ยนท่าทางอิริยาบถในระหว่างการทำงาน ควรมีการปรับเปลี่ยนท่าทาง ยืดเหยียด ผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างน้อยทุกๆ 1 ชั่วโมง



 

Related article

cover
04 December 2024

อัปเดต Skin Booster ตัวใหม่ ‘SKINVIVE’ เพื่อผิวโกลว์ ต้องการฟื้นฟูโดยเฉพาะ

อัปเดต Skin Booster ตัวใหม่ ‘SKINVIVE’ เพื่อผิวโกลว์ ต้อ

cover
30 October 2024

แชร์วิธีรักษาสิวและรอยดำที่หลัง เผยผิวได้ทุกอีเวนต์

แชร์วิธีรักษาสิวและรอยดำที่หลัง เผยผิวได

cover
01 October 2024

ความงามกับปัญหาหาคุณแม่หลังคลอด

คู่มือเลือกหัตถการดูแลตัวเองให้ยังสาวสวย